6 days ago • Prachatai

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ประภาภูมิ เอี่ยมสม และต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี พูดคุยกับ ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง ในประเด็น "Queer in the Global South" หรือเควียร์ศึกษาในซีกโลกใต้ ที่ไม่ได้ดูแค่ประเด็นเควียร์ในอาณาบริเวณใต้เส้นศูนย์สูตร แต่ดูทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และเชิงวาทกรรมว่าอะไรถูกจัดให้อยู่เหนือกว่า สิ่งที่อยู่ต่ำกว่า ด้อยอำนาจมากกว่าในวาทกรรมการพัฒนา

ทั้งนี้แม้ทฤษฎีเควียร์จะตั้งต้นมาจากฝั่งสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะมิเชล ฟูโกต์ หรือจูดิธ บัตเลอร์ แต่ก็มีอย่างน้อย 3 แนวทางของเควียร์ศึกษาในซีกโลกใต้ ได้แก่ สายแรก Globalist เควียร์ศึกษาสายตะวันตกนิยม สายที่สอง Localist หรือ สายศึกษาเควียร์ท้องถิ่น และ สายที่สาม Transnationalism หรือ เควียร์สายข้ามชาตินิยม ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการ  #หมายเหตุประเพทไทย   #queerstudies 

📌 รับชมได้ที่ :  https://youtu.be/aT3LnsQ1HU0 

12 days ago • Prachatai

ร้อนนี้ต้องมีร่ม!
ร่มจากประชาไท
ร่มกันแดดกันฝนกันลมกันร้อน
ราคาเดียว 250 บาทเท่านั้น
.

สแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อสั่งซื้อ ☂
หรือสั่งซื้อได้ที่ :  https://pct.fyi/8kz5vw 

2 weeks ago • Prachatai

หลังโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามคำสั่งบริหารกำหนดภาษีศุลกากร "Make America Wealthy Again" ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนทั่วโลก รวมไปถึงสงครามการค้าจีน-สหรัฐอเมริการะลอกใหม่ซึ่งประเทศไทยก็หนีไม่พ้นผลกระทบเช่นว่า

[Live] เย็นวันอาทิตย์นี้ ภาวิน มาลัยวงศ์ ประภาภูมิ เอี่ยมสม พูดคุยกับ ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ ชวนย่อโลกประวัติศาสตร์การค้า พูดถึงกำเนิดลัทธิพาณิชย์นิยมกับการล่าอาณานิคม กำแพงภาษี และการแข่งขันทางการค้า ซึ่งนำมาสู่สงครามระหว่างเจ้าอาณานิคม วิกฤตเศรษฐกิจโลก สงครามโลกครั้งที่ 1 นอกจากนี้ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางเศรษฐกิจในอนาคต แฟรงค์ลิน ดี รูสเวสท์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ร่วมกับวินสตัน เซอร์ซิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ยังริเริ่มการหารือผ่านการประชุมเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods) ซึ่งนำมาสู่ลัทธิเสรีนิยมภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สถาบันทางเศรษฐกิจอย่าง IMF, IBRD/World Bank การผูกค่าเงินไว้กับทองคำหรือเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ฯลฯ ซึ่งส่งผลต่อโครงสร้างเศรษฐกิจโลกจนถึงปัจจุบัน

📌 รับชมได้ที่ :  https://www.youtube.com/live/2mLhqYL8RPI 

2 weeks ago • Prachatai

หลังจาก “กีกี้” หรือ “Shocker Combatmen” กลายเป็นประเด็นในการอภิปรายในสภาเมื่อไม่นานมานี้ หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ภาวิน มาลัยวงศ์ และปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ พูดถึงกำเนิด “คาเมนไรเดอร์’ และยุคซีรีส์ซูเปอร์ฮีโร่แปลงร่างในวัฒนธรรมญี่ปุ่นอันเป็นผลพวงของสังคมยุคหลังสงครามแปซิฟิก และจะกลายเป็นวัฒนธรรมบันเทิงจากของญี่ปุ่นในเวลาต่อมา

ทั้งนี้ อิชิโนโมริ โชทาโร (Ishinomori Shotaro) ราชามังงะ ผู้สร้างตัวละคร คาเมนไรเดอร์ เป็นคนในรุ่น “ยาเคอาโตะ” “Yakeato (焼け跡) Generation” หรือคนที่เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1929 ถึง 1941 ตอนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขายังเด็กเกินกว่าจะถูกเกณฑ์เข้าไปมีส่วนร่วม แต่ว่ารู้ความและทันเห็นเหตุการณ์การทิ้งระเบิดปรมาณู ตลอดจนผลพวงที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ประสบการณ์นี้สร้างความเจ็บป่วยทางจิตใจฝังรากลึก เขาเห็นตัวเองไม่มีประโยชน์ ถูกต้อนจนมุมในสถานการณ์ที่ไม่มีทางออก พอเติบโตขึ้น บางคนเป็นผู้ต่อต้านสงคราม บ้างเป็นศิลปิน นักเขียน ผู้กำกับภาพยนตร์

อิชิโนโมริสร้างสรรค์ผลงานอย่าง “คาเมนไรเดอร์” เปิดตัวในปี ค.ศ. 1971 เพื่อ Re-imagine จินตนาการความเป็นไปได้อื่น จำลองมัลติเวอร์สที่พวกเขาพอจะลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลงได้บ้าง ไม่เป็นผู้สิ้นไร้ในทุกรูปแบบ โดยซีรีส์คาเมนไรเดอร์ นับเป็นการปักหมุดจุดเริ่มต้น “ยุคทองของ โทคุชัตสึ” หมายถึงละครโทรทัศน์แนวไลฟ์แอคชันจากประเทศญี่ปุ่น เนื้อหาแนวฮีโร ใช้มนุษย์จริงแสดงประกอบกับสเปเชียลเอฟเฟ็คต่าง ๆ โดยยุคทองของโทคุชัตสึ หรือเหล่าฮีโรมนุษย์แปลงร่างอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1971 ถึง 1989 ขณะที่พล็อตเรื่องหลังยุคทองเมื่อเข้าสู่ยุคเฮเซหรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่หลัง ค.ศ. 2000 ซูเปอร์ฮีโรเหล่านี้ยิ่งเดินเรื่องไปสู่เฉดเทามากขึ้น ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการ  #หมายเหตุประเพทไทย   #kamenrider 

📌 รับชมได้ที่ :  https://youtu.be/4ez-IzrF9vA 

3 weeks ago • Prachatai

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ แนะนำบทความ "Embodying ‘Thainess’ and the post-2006 coup crisis in Buppesannivas (Love Destiny)" ของศรัณย์ภัทร์ บุญฮก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นำเสนอประเด็นจากละคร "บุพเพสันนิวาส" ซึ่งออกอากาศครั้งแรกทางช่อง 3 ในปี 2561

ละครโทรทัศน์เรื่องดังกล่าวเขียนบทโทรทัศน์อิงจากฉบับนวนิยายของ "รอมแพง" เล่าเรื่องราวของเกศสุรางค์ ที่ย้อนเวลาปัจจุบันกลับไปอยู่ในร่างของ "การะเกด" ย้อนกลับไปในยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภาพแทนของขุนนางต่างชาติที่เป็น "ตัวร้าย" และจบลงด้วยเหตุการณ์ยึดอำนาจปราบฟอลคอน และตั้งราชวงศ์บ้านพลูหลวงโดยพระเพทราชา

และเนื่องจากฉบับนวนิยายตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2553 จึงมีจุดเชื่อมโยงกับบริบทการเมืองหลังรัฐประหาร 2549 โดยบทความยังเสนอว่า "บุพเพสันนิวาส" นำเสนอเรื่องเล่าหลักของแนวคิดราชาชาตินิยม กระทั่งเปิดพื้นที่ในการสนทนากับปัญหาวิกฤติชาติที่เกิดขึ้นภายหลังรัฐประหาร สะท้อนถึงความกังวลใจต่อภาวะการแบ่งขั้วทางการเมืองและการตีความเรื่อง "คนดี" ของสังคมไทย

📌 รับชมได้ที่ :  https://youtu.be/qwLHP5MEUEk 

1 month ago • Prachatai

ส่งกลับผู้ลี้ภัยอุยกูร์ บนกระดานอำนาจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ | หมายเหตุประเพทไทย EP.568 [Live]

หมายเหตุประเพทไทย [Live] สัปดาห์นี้ ชานันท์ ยอดหงษ์ และปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ หยิบยกกรณีไทยส่งกลับผู้ลี้ภัยอุยกูร์กลับประเทศจีนในมิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของชาติในเอเชีย โดยเฉพาะประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ดูเหมือนไม่แข็งขัน เมื่อเทียบกับปฏิกิริยาจากชาติตะวันตก แต่หลายสิ่งสะท้อนเช่นนั้นจริงหรือไม่ ติดตามในรายการหมายเหตุประเพทไทย หกโมงเย็นวันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม

รับชมได้ที่  https://www.youtube.com/watch?v=ACOp8... 

1 month ago • Prachatai

ร่มตาใสล็อตสุดท้าย!!! ☂️
ราคาเดียว 250 บาทเท่านั้น

.
หมดแล้วหมดเลย 
สั่งซื้อได้ที่ 👉  https://pct.fyi/8kz5vw 

1 month ago • Prachatai

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้พูดคุยกับ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชวนอ่านขั้วอุดมการณ์ทางการเมือง "อนุรักษนิยม เสรีนิยม สังคมนิยม" ไปจนถึง "ฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา" ทำความเข้าใจจุดยืนของพรรคการเมือง กลุ่มทางสังคมในสังคมโลกและสังคมไทย เหตุใดอนุรักษนิยม เสรีนิยม มองเรื่องเดียวกันแต่มีจุดยืนแตกต่างกัน และตัวเรามีจุดยืนอยู่ตรงไหนเมื่อเทียบกับอุดมการณ์ทางการเมืองขั้วต่างๆ

และเมื่อพิจารณาสังคมไทย ที่แกนกลางของสังคมไทยมีความเป็นอนุรักษนิยมสูง เมื่อมีพรรคการเมือง หรือการรณรงค์ทางสังคมที่ดีกรีเป็นแค่เสรีนิยม หรือลิเบอรัล ก็ถูกมองว่าเป็นฝ่ายซ้ายไปหมด และชวนจับสัญญาณการใช้อำนาจองคาพยพหรือพลังทางการเมือง กระทั่งรัฐประหาร เพื่อขยับให้สังคมที่ออกไปทางเสรีนิยมกลับมาเข้าร่องเข้ารอยอยู่ในแกนอนุรักษนิยมร่ำไป  #หมายเหตุประเพทไทย   #ขั้วทางการเมือง 
.

ฟังทั้งหมดได้ที่ :  https://youtu.be/2CDVzSQ4dYs 

1 month ago • Prachatai

"ทิศทางของซีรีส์ GL (Girls' Love) มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างแน่นอนในช่วง 3 ปี ข้างหน้า เพราะคนดูเริ่มสนใจและยอมรับเนื้อหาที่หลากหลายทางเพศ อย่างไรก็ตามในช่วง 5 ปี ข้างหน้าอาจเกิดการพัฒนาเรื่องราวที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมถึงการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การสร้างความรักระหว่างคู่รักเพศเดียวกัน แต่รวมไปถึงการสะท้อนภาพความหลากหลายทางเพศในแง่มุมอื่นๆ ที่ไม่เคยได้รับการสำรวจมาก่อน"
.
ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ผู้กำกับซีรีส์ และ อดีต ส.ส.พรรคก้าวไกล กล่าว ในปี 2025 เทรนด์ของซีรีส์ GL (Girls' Love) ในตลาดไทยและทั่วโลกกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องสร้างฐานคนดูได้หลากหลาย และในเวลาเดียวกันตลาดอุสาหกรรมเริ่มสนับสนุนมากขึ้น เป็นทิศทางที่ดีที่ช่วยกระตุ้นให้ผลิตและเผยแพร่ซีรีส์ รวมไปถึงเป็นการส่งเสริม Soft Power ในด้านวัฒนธรรมและความหลากหลายทางเพศ แต่หากจะพัฒนาให้ยั่งยืนต้องมีกลยุทธ์ในการผลิตที่มีความสร้างสรรค์ มีการลงทุนในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น ลงทุนด้านโปรดักชันให้มีคุณภาพ รวมถึงพัฒนาบทเนื้อหา ซึ่งหากภาครัฐเล็งเห็นจะเป็นการช่วยผลักดันส่งเสริมอุตสาหกรรมบันเทิงและเศรษฐกิจ คอนเทนต์หญิงรักหญิงให้มีคุณภาพและเติบโตได้อย่างแข็งแรงยั่งยืน
.
ส่วนหนึ่งจากงานเสวนา GL Power เมื่อพลัง 'หญิงรักหญิง' สร้างเรื่อง จัดโดยคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันที่ 17 มี.ค. 68 ที่ผ่านมา เพื่อที่จะได้พูดคุย แลกเปลี่ยน ทำอย่างไรให้กระแสคอนเทนต์ Girls' Love ผลิตได้อย่างมีพลัง เปิดบทบาทซีรีส์หญิงรักหญิงให้มีพลังสตรีแนวใหม่สู่ประตูเอนเตอร์เทนเมนต์ไทยแถวหน้า และทำให้เรื่องราวของหญิงรักหญิงเป็นได้มากกว่าความบันเทิง

📌 ฟังทั้งหมดได้ที่ :  https://youtu.be/MOgGmrTkk4M 
.
 #GLPower   #GirlsLove   #ซีรีส์หญิงรักหญิง 

1 month ago • Prachatai

“สมัยก่อนคนที่ใช้มอเตอร์ไซค์เป็นคนต่างจังหวัด ในขณะที่คนกรุงเทพฯ ขนส่งสาธารณะดี และคนที่ใช้มอเตอร์ไซค์ คือตีนที่จะพาคนไปส่งอีกทีหนึ่ง แม้ว่าจะเป็นตีนของคนไทย แต่ว่าโดนละเลยในเชิงนโยบายและในการสนับสนุนผู้ขับขี่ ซึ่งตรงกันข้ามกับการสนับสนุนผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายที่เป็นบริษัททางญี่ปุ่นหรือต่างประเทศหรืออะไรก็แล้วแต่ รวมทั้งนโยบายจำนวนมากไม่ได้สนับสนุนคนขี่มอเตอร์ไซค์ การขับมอเตอร์ไซค์เท่ากับการผลักภาระไปให้ผู้ขับขี่คนธรรมดา”
.
ชวนฟังเสวนาหัวข้อ "มอเตอร์ไซค์ตีนคนไทย หัวใจญี่ปุ่น" พลวัตของการเดินทางของครอบครัวไทยทศวรรษ 2520-รัฐประหาร 2549 โดย รศ.ดร.ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ จากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

📌 ฟังทั้งหมดได้ที่  https://youtu.be/J5AP4_EVQHg